Skip to content
Brand Identity คืออะไร ช่วยสร้างให้แบรนด์เราโดดเด่น

Table of Contents

Brand Identity คือตัวช่วยที่ดีที่สุดในการสร้างอัตลักษณ์

Brand Identity คืออะไร? เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยว่า Brand Identity หรือ CI Brand คืออะไร? เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างแบรนด์หรือทำธุรกิจจริงหรือไม่? เราขอบอกเลยว่า Brand CI คือสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากและไม่อาจมองข้ามไปได้เลย เพราะ CI แบรนด์ คือภาพที่จะทำให้ผู้คนจดจำแบรนด์หรือธุรกิจของเราได้อย่างแม่นยำ

เรียกได้ว่า Brand Identity คือ อัตลักษณ์หรือจุดเด่นของแบรนด์ที่องค์กรสร้างขึ้นนั่นเอง โดย Brand Identity ถือเป็นก้าวแรกๆ ในการสร้างแบรนด์ เพราะอัตลักษณ์เหล่านี้
ไม่ว่าจะเป็นชื่อแบรนด์ สโลแกน โลโก้ สัญลักษณ์ ฟอนต์ และโทนสีจะถูกแสดงออกไปในลักษณะภาพจำของแบรนด์ ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของเราได้เป็นอย่างดี 

ซึ่งถึงตรงนี้ ขอแอบขายของนิดนึง แบรนด์ไหน ใครยังรู้สึกว่าตัวเองไม่มี Brand Identity ติดต่อ ADME ได้เลย – เรารับออกแบบกราฟฟิก

ประเภทของ Brand Identity แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

Brand Identity คือตัวช่วยที่ทำให้แบรนด์ของเรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถแบ่งออกได้กี่ประเภท? และแต่ละประเภทนั้นสำคัญอย่างไร? ขอบอกเลยว่าเมื่อเราสร้างแบรนด์ของเราแล้วก็ต้องสร้าง Brand Identity ให้ครบทุกประเภท เพื่อส่งเสริมความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใครให้เปล่งประกายมากที่สุด ซึ่งโดยปกติจะมีการแบ่ง Brand Identity ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

Graphic Identity

หนึ่งในประเภทของ Brand Identity คือ Graphic Identity โดยจะมีการสื่อสารอัตลักษณ์ของแบรนด์ออกมาผ่านโลโก้ รูปภาพ ลายเส้น ลวดลาย สัญลักษณ์ รวมถึงสี ผ่านการออกแบบและผสมผสานให้ตรงกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะนำเสนอความเป็นตัวเองออกมาสู่กลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

Sensorial Identity

Sensorial Identity คือหนึ่งในประเภทของ Brand Identity ที่จะทำให้ผู้คนสามารถรับรู้และสัมผัสอัตลักษณ์ของแบรนด์ได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่

  • รูป
  • รส
  • กลิ่น
  • เสียง
  • สัมผัส


ตัวอย่างเช่น โรงแรม Ritz-Carton ที่จะมีการปรุงแต่งน้ำหอมสำหรับโรงแรมขึ้นมมา เพื่อที่จะใช้ฉีดกระจายกลิ่นตามทางเดิน หรือ Lobby ของโรงแรม เพื่อสร้างกลิ่นจำให้กับลูกค้า หรืออาจจะเป็นเพลงที่เปิดในร้าน Starbucks ที่จะรังสรรค์แต่เพลงที่มี Ambiance ของเพลงเป็นไปในทางเดียวกันเสมอ

Behavioural Identity

อีกหนึ่งในประเภทของ Brand Identity คือ Behavioral Identity หรือการสร้างอัตลักษณ์ที่มีส่วนมาจากการกระทำของลูกค้าที่ทำร่วมกับแบรนด์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นวิธีการต้อนรับของพนักงาน หรือคำสรรพนามที่พนักงานใช้เรียกลูกค้า หรืออาจจะรวมไปถึงภาพรวมที่ทางแบรนด์ต้องการให้ลูกค้าปฎิบัติต่อองค์กร เช่น Amazon มีจุดยืนที่แข็งแกร่งด้านความเป็น Customer-centric ดังนั้น Customer Journey ต่างๆ ที่ทางแบรนด์ออกแบบให้ลูกค้า ก็จะเป็นไปในเชิงที่สอดคล้องกันหมด เช่น การดีไซน์หน้าเว็บไซต์ฝั่ง UX และ UI ก็จะตอบโจทย์ให้ลูกค้าเลือกซื้อของได้ง่าย และการทำ Personalised Recommendation สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วย และรวมไปถึงการที่ลูกค้าใช้จ่ายง่ายบนเว็บไซต์เช่นกัน

Functional Identity

ประเภทสุดท้ายของ Brand Identity คือ Functional Identity หรืออัตลักษณ์ที่เน้นให้เห็นถึงคุณสมบัติของแบรนด์หรือสินค้าของเรา โดยที่สินค้าของเราต้องสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด เช่น การที่ Nike มุ่งเน้นความเป็นหนึ่งในด้านการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาตลอดมา ทำให้แบรนด์มี Identity ที่ค่อนข้างแข็งแรงมากๆ ดังนั้นไม่ว่าใครจะมองหาอุปกรณ์กีฬาที่ตอบโจทย์ และมีประสิทธิภาพ ก็หนีไม่พ้นต้องนึกถึง Nike แน่นอน

6 องค์ประกอบของการสร้าง Brand Identity

การสร้าง Brand Identity มี 6 ประกอบหลักที่มาจากแนวคิด Brand Identity Prism หรือแนวคิดที่ใช้อธิบายอัตลักษณ์ของแบรนด์ โดยองค์ประกอบเหล่านี้มักจะใช้ในการวางแผนสร้าง Brand Identity และสามารถช่วยให้เราแสดงเอกลักษณ์ของแบรนด์ไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

Physique ลักษณะของแบรนด์ที่ลูกค้ามองเห็น

Physique หรือ ลักษณะของแบรนด์ที่ลูกค้ามองเห็นนั้น คือส่วนที่จะทำให้ลูกค้านึกถึงแบรนด์ของเราหรือจดจำแบรนด์ของเราได้ผ่านสี โลโก้ และรูปทรงต่างๆ ที่เลือกใช้ในการสร้าง Brand Identity ซึ่งองค์ประกอบนี้จะทำให้เรารู้ว่าควรดีไซน์สินค้าและบริการแบบไหนออกมาสู่ตลาด เพื่อที่ลูกค้าจะนึกถึงแบรนด์ของเราทันทีที่เห็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ เช่น เมื่อลูกค้าเห็นโลโก้สามขีดก็จะนึกถึงแบรนด์รองเท้ายี่ห้อดังได้ทันที

Brand Personality บุคลิกภาพของแบรนด์

Brand Personality หรือ บุคลิกภาพของแบรนด์นั้น คือสิ่งที่แสดงตัวตนของแบรนด์ว่ามีบุคลิกภาพแบบไหน ซึ่งบุคลิกภาพของแบรนด์สามารถมีตัวอย่างดังนี้

  • ความจริงใจ (Sincerity) 
  • ความตื่นเต้นเร้าอารมณ์ (Excitement)
  • ความสามารถ (Competence)
  • ความแพรวพราว (Sophistication)
  • ความแข็งแรง (Ruggedness)


โดยการระบุบุคลิกของแบรนด์นั้นจะทำให้ลูกค้าเห็นว่าแบรนด์ของเรามีลักษณะอย่างไร และส่งเสริมให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

Brand Culture วัฒนธรรมของแบรนด์

Brand Culture หรือ วัฒนธรรมของแบรนด์เป็นองค์ประกอบของ Brand Identity คือการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรที่ระบุถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์อย่างชัดเจน ด้วยการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือสินค้ามาใช้ 

ตัวอย่างเช่น Google มี Brand Culture ที่แสดงออกถึงความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ และการออกแบบภายในองค์กรที่ช่วยให้มีแรงผลักดันในการทำงาน

Relationship ความสัมพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้า

Relationship หรือ ความสัมพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้านั้น เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจากแบรนด์ โดยอาจจะเป็นบริการอื่นๆ จากทางแบรนด์ เช่น การให้บริการหลังการขาย การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าจะช่วยส่งเสริมให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์และกลายมาเป็น Customer Loyalty ในที่สุด

Customer Reflection ฐานลูกค้าของแบรนด์

Customer Reflection หรือ ฐานลูกค้าของแบรนด์นั้น จะเป็นภาพสะท้อนของแบรนด์ว่าสินค้าหรือบริการที่แบรนด์ทำเหมาะกับคนกลุ่มใด โดยเราจะสามารถรู้ได้ว่าแบรนด์ของเราเป็นอย่างไรในความคิดของกลุ่มลูกค้าได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อทำให้แบรนด์ของเราสามารถทำตามจุดประสงค์ได้อย่างเต็มกำลัง

Customer Self Image สิ่งที่ลูกค้ารู้จากการใช้สินค้า

Customer Self Image หรือ สิ่งที่ลูกค้ารู้จากการใช้สินค้านั้น จะเป็นภาพจำของแบรนด์ที่ลูกค้ามี โดยเกิดจากการใช้สินค้าของแบรนด์เรานั่นเอง ซึ่งเราจำเป็นจะต้องสร้างแบรนด์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด

ตัวอย่างเช่น ถ้าเรารู้ว่าลูกค้าชื่นชอบการใส่รองเท้าที่เป็นสายแฟชั่นและแสดงออกถึงความรักสุขภาพ เราที่เป็นผู้สร้างแบรนด์จะต้องนำข้อมูลเชิงลึกจากลูกค้ามาวิเคราะห์และต่อยอดเป็นแผนดำเนินธุรกิจต่อไป

วิธีสร้าง Brand Identity คือสิ่งสำคัญที่ขาดไปไม่ได้

วิธีการสร้าง Brand Identity นั้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ สำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้าง Brand Identity ให้แข็งแกร่งสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และสร้าง Brand Awareness ให้แก่แบรนด์ของตนเอง

วิเคราะห์แบรนด์และตลาด

การสร้าง Brand Identity คือการเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ภาพรวมของแบรนด์ ได้แก่

  • จุดแข็ง (Strengths)
  • จุดอ่อน (Weaknesses) 
  • โอกาส (Opportunities)
  • อุปสรรค (Threats)

หรือที่เรารู้จักกันในนามของ SWOT ที่เป็นตัวช่วยให้เราสามารถเข้าใจแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ด้วยการทำ SWOT Analysis เพื่อทำให้องค์กรเข้าใจสภาพแวดล้อมและศักยภาพของตนเอง รวมถึงกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานได้อย่างตรงจุด ทั้งยังสามารถสร้างสรรค์กลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

กำหนดเป้าหมายของแบรนด์

การสร้าง Brand Identity คือแบรนด์จะต้องกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทำให้แบรนด์สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้ เช่น แบรนด์ทำน้ำหอมหรูหรา ก็ต้องสร้างสรรค์โฆษณาที่แสดงออกถึงความหรูหราและกลิ่นหอมได้อย่างเต็มที่ เพื่อที่จะสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดนั่นเอง ทั้งยังควรแชร์โฆษณาให้ตรงกับแพลตฟอร์มหรือช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายใช้งานเป็นประจำอีกด้วย

กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

การสร้าง Brand Identity คือแบรนด์จะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ตรงจุด โดยสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างง่ายดายด้วยการประชุม การทำแบบสำรวจ การรับฟังความเห็นของลูกค้า เป็นต้น เพื่อที่แบรนด์จะสามารถสร้าง Brand Identity ออกมาได้เป็นอย่างดี

กำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์ตามเป้าหมาย

การสร้าง Brand Identity คือแบรนด์จะต้องกำหนดว่าบุคลิกภาพของแบรนด์เป็นอย่างไร โดยแบรนด์ควรจะเลือกอัตลักษณ์ให้สอดคล้องกับสินค้าและนำเสนอออกมาได้อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าจดจำสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ได้ ไม่ว่าจะเป็น 

  • คุณภาพของสินค้า
  • ราคาของสินค้า
  • เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสินค้า
  • วัฒนธรรมของแบรนด์
  • งานกราฟิกต่างๆ ของแบรนด์

 

Brand Identity คือปัจจัยสำคัญต่อแบรนด์จริงหรือไม่?

หากใครที่กำลังสงสัยว่า Brand Identity คือสิ่งสำคัญต่อการทำแบรนด์จริงหรือ? เราขอบอกว่าการสร้าง Brand Identity เป็นสิ่งที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เพราะสิ่งนี้คือด่านแรกที่กลุ่มลูกค้ามองเห็น ไม่ว่าจะเป็นชื่อแบรนด์ สโลแกน โลโก้ และอื่นๆ ทั้งยังเป็นผลดีต่อการทำการตลาดแบบออฟไลน์ การตลาดแบบออนไลน์ รวมถึงการตลาดใน Social Media ส่วน Brand Identity มีความสำคัญอย่างไรบ้าง? ตาม ADME บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ครบวงจร ไปดูพร้อมๆ กันเลย

สร้างการจดจำในกลุ่มเป้าหมาย

การสร้างแบรนด์นั้นจะต้องคำนึงถึงลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย หรือ Persona ที่เราจะได้ข้อมูลเหล่านี้จากการเก็บข้อมูลทางการตลาดและการเก็บข้อมูล Persona นั้น นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในการวางแผนหรือทำกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะจะทำให้แบรนด์สามารถเห็นภาพกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน

ดังนั้นการสร้าง Brand Identity ที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจะทำให้กลุ่มเป้าหมายจดจำสัญลักษณ์ สี โลโก้ สโลแกน หรือแม้กระทั่งบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ได้นั่นเอง ซึ่งไม่ว่าผู้คนจะเห็นสัญลักษณ์ของแบรนด์เราจากที่ไหนก็จะจำได้ในทันทีว่า Brand Identity แบบนี้คือแบรนด์ของเราอย่างแน่นอน

กำหนดเป้าหมายในการสื่อสาร

การสร้าง Brand Identity คือตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายในการสื่อสารของแบรนด์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและช่วยให้เราเจาะกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดีและตรงจุดมากขึ้น ซึ่งการสร้าง Brand Identity จะช่วยให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายการสื่อสารของแบรนด์ได้ดังนี้

  • แบรนด์ต้องการมีภาพจำอย่างไร
  • กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คือกลุ่มคนลักษณะไหน
  • โทนเสียงในการสื่อสารควรเป็นอย่างไร
  • ควรใช้ Brand Ambassador หรือไม่

กำหนดทิศทาง Art Direction

เมื่อแบรนด์ของเราได้สร้าง Brand Identity ขึ้นมาแล้วก็จะช่วยให้การดำเนินงานในส่วนของ Art Direction ดำเนินไปได้อย่างมีเป้าหมายชัดเจน แถมยังเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้เป็นที่จดจำได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น

  • การทำ Branding
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์
  • การออกแบบบรรจุภัณฑ์
  • การออกแบบตัวอักษร
  • การออกแบบโลโก้


ดังนั้นถ้าเราไม่สร้าง Brand Identity ก็จะส่งผลให้งานออกแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวไปนั้นไร้ทิศทางในการดำเนินงานและไม่มีความสม่ำเสมอในการสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่กำหนด ทั้งยังส่งผลให้แบรนด์ของเราถูกจดจำยากกว่าเดิมเพราะความไม่แน่นอนนั่นเอง

เปิดโอกาสสำหรับการสร้างยอดขาย

CI Brand คืออีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถทำให้เราสามารถสร้างยอดขายได้มากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อแบรนด์ของเรามี Brand Identity ที่แข็งแกร่งแล้วก็จะทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่นคง หรือที่เรียกว่า Customer Loyalty กลุ่มลูกค้าที่จะกลับมาซื้อสินค้าของเราซ้ำและช่วยให้เราไม่ต้องลงทุนจำนวนมหาศาลเพื่อทำโฆษณาโปรโมตแบรนด์เหมือนอย่างเคย

เพียงเท่านี้คงจะเห็นกันแล้วว่า Brand Identity คือสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำในสายตาของลูกค้า เพราะ CI Brand คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึง CI แบรนด์ คือสิ่งที่แสดงให้ลูกค้าเห็นถึงวัฒนธรรมในองค์กรอีกด้วย เรียกได้ว่า Brand CI คือสิ่งที่สามารถส่งเสริมแบรนด์ของเราได้แท้จริง