Table of Contents
พาไปดู! 11 Google Algorithm คืออะไร ส่งผลต่อ SEO อย่างไร
ต้องยอมรับว่าในยุคปัจจุบันการใช้งาน Serach Engine อย่าง Google ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่มีใครบ้างจะรู้ว่า Google Algorithm นั้น ส่งผลต่อการทำ SEO อย่างไร? ซึ่ง ADME ขอบอกเลยว่า Google Algorithm คือสิ่งที่มีส่วนสำคัญมากในการทำ SEO ของเว็บไซต์ เราจึงจำเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับ Google Search Algorithm และต้องรอบรู้ไปถึง Google Algorithm Update ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
การที่เว็บไซต์ธุรกิจจะสามารถทำอันดับสูง ๆ ได้บน Serach Engine อย่าง Google ขึ้นอยู่กับการทำ SEO ให้ตอบโจทย์กับ Google Algorithm เพราะ Google Algorithm คือสิ่งที่ Google จะใช้ประเมินว่าเว็บไซต์ของเราเหมาะสมที่จะอยู่ในอันดับแรก ๆ บนหน้าค้นหาของ Serach Engine อย่าง Google หรือไม่
ซึ่งบทความนี้ ADME บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ครบวงจรจะขอพาไปดูว่าแท้จริงแล้ว Google Algorithm คืออะไร? และส่งผลอย่างไรต่อการทำ SEO
Google Algorithm คืออะไร? ทำไมถึงต้องรู้เมื่อทำ SEO
Google Algorithm คือระบบของ Google มีหน้าที่เก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์และประเมินคะแนนเว็บไซต์ตามปัจจัยต่าง ๆ จากนั้นเวลาที่ผู้ใช้งานค้นหาอะไรบน Google เจ้า Algorithm ก็จะแสดงผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับข้อความที่ใช้ค้นหามากที่สุด โดย Algorithm ของ Google สามารถส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้าค้นหาของ Google ได้ และมีปัจจัยอื่น ๆ อยู่หลายอย่างที่ส่งผลต่อการจัดอันดับของ Algorithm ไม่ว่าจะเป็น
- PageRank ประเมินคุณภาพและจำนวนลิงก์สำหรับวัดคุณภาพและสิทธิ์การเข้าถึงของเว็บไซต์
- ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา วิเคราะห์เนื้อหาของเว็บไซต์เพื่อดูความเกี่ยวข้องกับข้อความที่ผู้ใช้งานใช้ค้นหา
- User Experience วัดข้อมูลเชิงลึกจากผู้ใช้งานว่าการค้นหามีคุณค่าหรือไม่
- การออกแบบสำหรับโทรศัพท์มือถือ วัดการใช้งานเว็บไซต์บนโทรศัพท์มือถือ
- ความเร็วของการโหลดเว็บเพจ ความเร็วในการโหลดเว็บเพจจะช่วยให้อันดับเว็บไซต์ดีขึ้น
- Damian, URL, Authority ถ้าสิ่งเหล่านี้มีชื่อเสียงอยู่แล้วก็จะทำให้ได้เปรียบเล็กน้อย
- เทคนิคทาง SEO เว็บไซต์ต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสม
- Backlink ปริมาณและคุณภาพของ Backlink ส่งผลต่อการรับรองเนื้อหาของเว็บไซต์
- พฤติกรรมของผู้ใช้งาน พฤติกรรมของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บไซต์ส่งผลกับการจัดอันดับในอนาคต
- ความสดใหม่ของคอนเทนต์ เนื้อหาของคอนเทนต์ต้องสดใหม่เสมอ
ซึ่งทาง Google มักจะมีการทำ Google Algorithm Update อยู่เสมอ แถมในบางครั้งการอัปเดต Google Algorithm ยังส่งผลกระทบต่ออันดับของเว็บไซต์จากการรับทำ SEO ติดหน้าแรกอีกด้วย ดังนั้นการติดตามการข่าวสารเกี่ยวกับการอัปเดตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะจะทำให้เรารู้เท่าทัน Algorithm และทำให้ผลการค้นหาสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีเสมอ
การทำงานของ Google Search Algorithm
การทำงานของ Google Search Algorithm ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้ผู้ใช้งานได้รับผลลัพธ์ในการค้นหาตรงกับความต้องการมากที่สุด โดยตัวช่วยที่ทำให้ Google เข้าใจสิ่งที่ผู้ใช้งานค้นหาได้ก็คือเอกสารต่าง ๆ จาก Index ที่ใช้เก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ จากนั้นก็นำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ รวมถึงจัดอันดับการค้นหา ซึ่งโดยปกติแล้วปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์นั้น จะเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลาจากการพัฒนาของ Algorithm
ซึ่งสำหรับใครที่มองหาผู้รับทำ SEO ติดหน้าแรกก็จำเป็นจะต้องเลือกบริษัทที่รู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับการทำงานของ Google Search Algorithm อย่าง ADME Media ที่พร้อมจะทำ SEO ให้ตอบโจทย์กับ Algorithm และทำให้เว็บไซต์ติดอันดับแรก ๆ บนหน้าค้นหาของ Google ได้ในที่สุด
พาส่อง 11 Google Algorithm แต่ละตัวส่งผลต่อ SEO อย่างไร?
Algorithm ของ Google ไม่ได้มีอยู่เพียงแค่ตัวเดียว แต่มีมากถึง 11 ตัว และแต่ละตัวก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งในหัวข้อนี้ ADME จะพาไปดูพร้อมกันเลยว่า Algorithm ของ Google มีอะไรบ้าง? แต่ละตัวมีหน้าที่อะไร? และส่งผลต่อการทำ SEO อย่างไร?
Panda
มาเริ่มกันที่ Algorithm ตัวแรกอย่าง Panda ที่เปิดตัวเมื่อกุมภาพันธ์ 2011 มีหน้าที่ปรับปรุงคุณภาพของการค้นหา โดย Panda จะทำการคัดกรองเนื้อหาบทความ SEO ในเว็บไซต์ทั้งหมด จากนั้นก็เริ่มลดระดับเว็บไซต์คุณภาพต่ำที่มีการคัดลอกเนื้อหามาจากเว็บไซต์อื่น เนื้อหาสแปม เนื้อหา Auto Generate รวมถึงบทความที่มีเนื้อหาไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานด้วย ซึ่งกลยุทธ์ที่จะตอบโจทย์การทำงานของ Panda มีดังนี้
- เขียนบทความที่มีคุณภาพสูง ไม่ซ้ำใคร และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน
- ปรับปรุงและอัปเดตบทความอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ใส่คีย์เวิร์ดซ้ำมากเกินไป
- บทความจะต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอย่างครอบคลุม
Penguin
Google Algorithm ตัวต่อมาก็คือ Penguin เปิดตัวในช่วงเมษายน 2012 มีหน้าที่คอยตรวจสอบความเชื่อมโยงกันของ Backlinks เพื่อป้องกันการสร้างลิงก์ที่เป็นสแปมและป้องกันการทำ SEO สายดำ โดย Penguin จะตรวจสอบลิงก์ที่เชื่อมโยงกลับมาสู่หน้าเว็บไซต์ทั้งหมดว่าเป็นลิงก์ที่มีคุณภาพจริงหรือไม่ และถ้า Penguin ตรวจเจอว่า Backlinks ไม่มีคุณภาพ หรือ Backlinks มาจากการทำ SEO สายดำก็อาจจะทำให้เว็บไซต์โดนแบนได้เลย ซึ่งกลยุทธ์ที่จะตอบโจทย์การทำงานของ Penguin ได้ดีก็มีอยู่หลากหลายข้อ เช่น
- ทำ Backlinks คุณภาพสูงที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือเนื้อหาของบทความ SEO
- เช็ก Backlinks Profile อย่างสม่ำเสมอ เพราะ Google Algorithm จะอัปเดตบ่อยและอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับเว็บไซต์
Hummingbird
Hummingbird เปิดตัวสิงหาคม 2013 จะเน้นทำหน้าที่ค้นหาและแสดงผลลัพธ์ของคีย์เวิร์ดล่วงหน้าตามคำที่ผู้ใช้งานค้นหา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ค้นหานั่นเอง ซึ่งกลยุทธ์ต่าง ๆ สำหรับ Hummingbird มีดังต่อไปนี้
- เขียนบทความ SEO ที่ตอบคำถามของผู้ใช้งานได้ครอบคลุม
- ใช้ภาษาที่อ่านง่ายและเนื้อหาให้ข้อมูลในเชิงลึก
- เน้นใช้ Long-tail Keyword หรือใช้คำที่ผู้ใช้งานมักจะค้นหามาเป็นคีย์เวิร์ด
Mobile Friendly Update
Mobile Friendly Update คือ Google Algorithm ที่มาในเดือนเมษายน 2014 ทำหน้าที่ประเมินความเหมาะสมของเว็บไซต์ว่าสามารถใช้งานได้ดีบนสมาร์ตโฟนหรืออุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ โดย Mobile Friendly Update จะให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่ได้รับการปรับปรุงเหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานที่ค้นหาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่จะเจอกับเว็บไซต์ที่สามารถให้ประสบการณ์การท่องเว็บไซต์ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้กับ Mobile Friendly Update คือ
- เช็กให้แน่ใจว่าเว็บไซต์สามารถตอบสนองอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้
- ปรับภาพให้เหมาะสมและออกแบบ UI ให้เหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่
- ปรับปรุงความเร็วในการโหลดเว็บไซต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
Pigeon
Pigeon อัลกอริทึมที่เปิดตัวช่วงกรกฎาคม 2014 จะมีหน้าที่คล้าย ๆ กับ Hummingbird ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการค้นหาให้ผู้ใช้งาน แต่ Pigeon จะเน้นจัดอันดับตามตำแหน่งที่ผู้ใช้งานค้นหา ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใช้งานค้นหาร้านอาหารเกาหลีแถวสาทร และใช้คีย์เวิร์ด “ร้านอาหารเกาหลี” ในการค้นหา Google ก็จะแสดงผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจงในบริเวณสาทร ซึ่งถ้าเราเป็นเจ้าร้านอาหารเกาหลีในย่านสาทร และมีเว็บไซต์ Google Map หรือ Google My Bussines ก็จะทำให้ร้านไปอยู่ในหน้าผลลัพธ์การค้นหาของ Google ง่ายขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะกับ Pigeon มีอะไรบ้าง? ไปดูกัน
- เพิ่มประสิทธิภาพโปรไฟล์ Google My Business
- สร้าง Local Citations เพื่อทำให้ธุรกิจถูกพูดถึงบนเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ
- ตรวจสอบข้อมูล NAP (ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์) ที่สอดคล้องกัน
RankBrain
RankBrain คือ Google Algorithm ที่เริ่มใช้ช่วงตุลาคม 2015 ช่วยให้ผู้ใช้งานได้ผลลัพธ์การค้นหาที่ถูกต้อง โดยจะทำการคัดกรองเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์กับการค้นหามากที่สุด ซึ่ง RankBrain จะดูความสอดคล้องของบทความ SEO ตั้งแต่ Title , Meta และ Keyword เป็นต้น และกลยุทธ์ที่จะสามารถตอบโจทย์ RankBrain ได้มีดังนี้
- เขียนบทความ SEO ที่ตอบคำถามทั่วไปของผู้ใช้งานได้
- เน้นจุดประสงค์ของผู้ใช้งานมากว่าเรื่องคีย์เวิร์ด
- ใช้ภาษาที่มีความเป็นธรรมชาติและเข้าใจง่ายในบทความ SEO
Fred
Fred เปิดตัวในช่วงมีนาคม 2017 จะทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานของเว็บไซต์ทั้งหมด รวมถึงบทความ SEO ในเว็บไซต์ด้วย ซึ่ง Fred จะเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณค่าและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการค้นหาของผู้ใช้งานเป็นหลัก เว็บไซต์ที่มีโฆษณา หรือ Affiliate Link มากเกินไปจะถูกจัดอันดับเว็บไซต์ต่ำลง เพราะสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อประสบการณ์และรบกวนการใช้งานของผู้ใช้งานนั่นเอง แล้วกลยุทธ์ที่เหมาะกับ Fred จะมีอะไรบ้าง? ไปดูกัน
- เน้นสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าและให้ข้อมูลที่มีประโยชน์
- จำกัดจำนวนโฆษณา โดยเฉพาะโฆษณาที่ไม่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์
- ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานและความต้องการของผู้ใช้งาน มากกว่ารายได้จากโฆษณา
Google Medic Update
Google Algorithm อย่าง Google Medic Update ที่ใช้มาตั้งแต่สิงหาคม 2018 นั้นจะทำหน้าที่จัดลำดับความสำคัญของเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การเงิน หรืออื่น ๆ ที่เจาะจงด้วย E-A-T หรือ Expertise (ความเชี่ยวชาญ) Authoritativeness (อำนาจ) และ Trustworthiness (ความน่าเชื่อ) เพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มที่มีความละเอียดอ่อนได้ผลลัพธ์การค้นหาที่ถูกต้องและมีประโยชน์มากที่สุด ซึ่งกลยุทธ์ที่เราสามารถใช้กับ Google Medic Update ได้มีดังนี้
- แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในเนื้อหาของบทความ
- อ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
- แสดงประวัติผู้เขียนบทความเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
BERT
BERT เปิดตัวในเดือนตุลาคม 2019 และได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อปรับปรุงความเข้าใจในสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการค้นหา ช่วยให้ Google เข้าใจภาษาต่าง ๆ โดยเฉพาะคีย์เวิร์ดของการค้นหาที่เป็นข้อความยาว ๆ ทำให้ผลลัพธ์การค้นหามีความแม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์กับ BERT ได้แก่
- เขียนบทความ SEO ที่มีความเป็นธรรมชาติและเน้นบทสนทนาที่เข้าใจง่าย
- เนื้อหาของบทความต้องครอบคลุมคำถามที่ผู้ใช้งานค้นหา
- ใช้ Schema Markup เพื่อทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาในเว็บไซต์มากขึ้น
Page Experience Update
Page Experience Update เปิดตัวในช่วงมิถุนายน 2021 มีหน้าที่จัดลำดับความสำคัญของการออกแบบเว็บไซต์และประสิทธิภาพที่เน้นเกี่ยวกับการใช้งานของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งกลยุทธ์ที่สามารถตอบโจทย์การทำงานของ Page Experience Update มีดังนี้
- เพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดและการโต้ตอบของเว็บไซต์
- เพิ่มความเสถียรของภาพระหว่างการโหลดหน้าเว็บไซต์
- ใช้ HTTPS แทน HTTP เพื่อการท่องเว็บที่ปลอดภัย
Core Updates
Core Updates คือ Google Algorithm ที่เริ่มใช้งานเมื่อกันยายน 2022 มีหน้าที่ปรับปรุงคุณภาพผลการค้นหาโดยรวม โดยจะพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น คุณภาพเนื้อหา ความเกี่ยวข้อง และประสบการณ์ของผู้ใช้งาน เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์สำหรับ Core Updates นั้น ก็มีอยู่หลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
- เขียนบทความ SEO ที่มีเนื้อหาคุณภาพสูง น่าเชื่อถือ และมีคุณค่า
- ปรับปรุงเนื้อหาตามหลักเกณฑ์และการเปลี่ยนแปลงของ Algorithm อยู่เสมอ
- เน้นประสบการณ์ของผู้ใช้งานและความเกี่ยวข้องเป็นหลัก
เรียกได้ว่าเพียงแค่รู้จักกับ Google Algorithm ทั้ง 11 ตัวนี้ก็สามารถทำ SEO ให้ตอบโจทย์กับการทำงานของ Google Search Algorithm ได้มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญยังสามารถนำกลยุทธ์ที่เหมาะกับ Algorithm แต่ละตัวที่ ADME นำมาแชร์ในวันนี้ไปใช้เพื่อเสริมคุณภาพในการทำ SEO ให้ดีขึ้นไปอีกระดับได้อีกด้วย ดังนั้นใครที่ต้องการให้เว็บไซต์ของตัวเองมีอันดับที่ดีและสูงขึ้นก็จะต้องรู้เท่าทัน Google Algorithm Update อยู่เสมอ เพราะ Google Algorithm คือสิ่งสำคัญในการประเมินเว็บไซต์และส่งผลต่อการทำ SEO อย่างแท้จริง