หน้าหลัก » Digital Marketing » รู้ให้ลึกก่อนทำ มาตรวัด Cost Per Click คืออะไร ดียังไง
Cost Per Click คืออะไร? สำคัญต่อการยิงแอดโฆษณาออนไลน์จริงไหม
Table of Contents
Cost Per Click คืออะไร? หรือ CPC กับ CPA เหมือนกันไหม พอเห็นตัวย่อเหล่านี้หลายคนอาจสงสัยว่า CPC คืออะไร มีความหมายอย่างไร? ความจริงตัวย่อเหล่านี้คือมาตรวัดในการคิดค่าโฆษณาออนไลน์ และถ้าถามว่าค่าโฆษณา CPC Facebook คือเท่าไหร่ ต้องบอกว่าการคิดค่าโฆษณาขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละแพลตฟอร์ม ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายการยิงโฆษณาบน Facebook, Google, Bing หรือ YouTube อาจไม่เท่ากัน แล้วควรใช้งบประมาณในการทำ CPC เท่าไหร่ดี? ถึงให้ผลลัพธ์ตรงความต้องการ
เพื่อให้นักการตลาดออนไลน์เข้าใจว่า CPC หรือ Cost Per Click คืออะไรอย่างละเอียด รวมถึงรู้ความแตกต่างของตัวย่อ CPM, CPA และ CPC คืออะไร มีลักษณะอย่างไร? ในบทความนี้ ADME บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์ครบวงจร ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากครบ เพื่อให้การทำ Cost Per Click มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ก่อนทำธุรกิจ มาทำความรู้จัก Cost Per Click คืออะไร? กันดีกว่า
CPC ย่อมาจาก Cost Per Click คือต้นทุนต่อคลิกที่โฆษณาได้รับ หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น CPC เป็นหนึ่งในรูปแบบของการชำระเงินในการทำโฆษณาออนไลน์ โดยเราในฐานะผู้ลงโฆษณาต้องจ่ายเงินให้กับ Google Ads, Facebook Ads, LINE Ads และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่มีการยิงแอดโฆษณาให้ ซึ่งหลักการทำงานของ Cost Per Click ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้
- การตั้งค่าโฆษณาใน Google Ads ค่าใช้จ่ายต่อคลิกจะเกิดขึ้น เมื่อผู้ลงโฆษณาสร้างแคมเปญและกำหนด Keyword ที่จะใช้สำหรับแคมเปญนั้น ๆ
- การประมูล เป็นกรณีที่ผู้ลงโฆษณาเลือกเสนอราคาต่อการคลิก 1 ครั้งสูงกว่าที่แพลตฟอร์มออนไลน์กำหนด เพื่อแย่งอันดับในการแสดงผลบนแพลตฟอร์มนั้น
- การแสดงผล โฆษณาของเราจะปรากฏขึ้น เมื่อผู้ใช้งานค้นหาด้วย Keyword ที่เรากำหนด หรืออยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้
- การคลิก ผู้ลงโฆษณาจะถูกเรียกเก็บเงินตามราคาต่อคลิกที่ตกลงไว้ เมื่อมีผู้ใช้งานคลิกที่โฆษณาดังกล่าว
ความแตกต่างระหว่าง CPM กับ CPC คืออะไร? ที่นี่มีคำตอบให้ครบ
จากเนื้อหาที่กล่าวมาในข้างต้น เราได้เห็นภาพคร่าว ๆ แล้วว่า CPC คืออะไร? แต่ถึงอย่างนั้นรูปแบบการชำระเงินค่าโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่นักการตลาดต้องเจอไม่ได้มีแค่ CPC (Cost Per Click) ยังมี CPM (Cost Per Mille) และ CPA (Cost Per Action) ด้วย วันนี้ ADME ที่ปรึกษารับทำการตลาดออนไลน์ขอพาไปดูกันว่า CPM กับ CPC แตกต่างกันอย่างไร และใช้งานในจุดประสงค์อะไร
ทำความรู้จักตัวชี้วัด CPM คืออะไร
CPM ย่อมาจาก Cost Per Mille หรือ Cost Per 1000 Impressions คือต้นทุนการแสดงผลของโฆษณา 1,000 ครั้ง หรืออธิบายแบบง่าย ๆ การทำโฆษณาแบบ CPM ผู้ลงโฆษณาต้องจ่ายเงินเมื่อมีคนมองเห็นโฆษณาครบทุก ๆ 1,000 ครั้ง ส่วนค่าโฆษณาจะราคาเท่าไหร่? ก็ขึ้นอยู่กับระบบการประมูลของเว็บไซต์นั้น ๆ
อย่างกรณีการยิงแอดโฆษณาแบบ CPM บนแพลตฟอร์ม Meta (หรือ Facebook และ Instagram) รวมถึง TikTok จะใช้คิดเงินกับลูกค้าเวลายิงโฆษณา ส่งผลให้การทำโฆษณาแบบ CPM เป็นอีกทางเลือกที่หลายธุรกิจใช้เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) เพราะผู้ลงโฆษณาต้องการให้โฆษณาถูกเห็นโดยผู้ชมในวงกว้าง โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าผู้ชมจะคลิกหรือไม่
ความหมายของ Cost Per Click คืออะไร
ตามที่กล่าวไว้ Cost Per Click คือค่าใช้จ่ายต่อการคลิกชมโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีการแสดงแคมเปญโฆษณา โดย Google Ads จะใช้ระบบนี้ในการคิดเงินลูกค้า ทำธุรกิจจะเสียเงินก็ต่อเมื่อมีคนคลิกชมโฆษณา
ตัวอย่าง
นาย A โปรโมตธุรกิจร้านค้าปลีกผ่านช่องทาง Google โดยมีความต้องการเพิ่มยอดแก้วเก็บความเย็นซึ่งเป็นสินค้าใหม่ จึงสร้างแคมเปญโฆษณาน Google Ads พร้อมกำหนด Keyword ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและ Search Volume สูง เพื่อให้แคมเปญโฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำขึ้น ซึ่ง Keyword ที่เลือกใช้มีราคาอยู่ระหว่าง 5 บาท ไปจนถึง 20 บาท
นาย A ต้องการดึงดูดผู้ชมมายังหน้าสินค้าบนเว็บไซต์ธุรกิจให้มากที่สุด จึงประมูลราคาคลิกหรือที่เรียกกันว่า บิทราคา (Bidding Price) ไว้ที่ 19 บาท แม้ไม่ใช่การเสนอราคาที่สูงที่สุด แต่ก็เพิ่มโอกาสมีคนค้นเจอและคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์มากขึ้น เมื่อค้นหาด้วย Keyword “แก้วเก็บความเย็น” หากตลอดระยะเวลาที่ทำแคมเปญนี้ ปรากฏว่ามีคนคลิกเข้าไปชมหรือสั่งซื้อสินค้า รวม 45 ครั้ง นาย A ต้องเสียค่าโฆษณา ดังนี้
- นาย A มีโอกาสเสียค่าโฆษณาแบบ CPC บน Google Ads มากสุดถึงประมาณ = 19 x 45 เป็นเงิน 855 บาท
เมื่อพิจารณาให้ดีพบว่าการโฆษณาออนไลน์ที่ใช้มาตรวัด CPC คำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น มีวัตถุประสงค์ในการนำลูกค้าเข้าสู่เว็บไซต์ เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เช่น การลงทะเบียน หรือการซื้อสินค้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้หลายธุรกิจเลือกใช้โฆษณาออนไลน์ CPC เพราะสามารถประเมินค่าใช้จ่ายในการนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ แล้วยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนนำไปปรับใช้กับแคมเปญการตลาดครั้งต่อ ๆ ไป เพื่อให้สามารถรันแคมเปญได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและคุ้มค่ากับเงินทุกบาทที่ต้องเสียไป
มาถึงตรงนี้ สามารถสรุปความแตกต่างระหว่าง CPM กับ CPC ได้ว่า CPM คือการจ่ายเงินเมื่อมีคนเห็นโฆษณาครบ 1,000 ครั้ง โดยไม่สนใจว่ากลุ่มเป้าหมายจะคลิกโฆษณาหรือซื้อสินค้าไหม จึงเน้นไปที่การยิงโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ ขณะที่ CPC เป็นรูปแบบการเรียกเก็บเงินกับผู้ลงโฆษณาเมื่อมีคนคลิกที่โฆษณานั้น ๆ ซึ่งการยิงโฆษณาวิธีนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการคลิกและการทำกิจกรรมบนเว็บไซต์ แต่สุดท้ายจะเลือกใช้ CPM หรือ CPC ก็ขึ้นอยู่วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ทางการตลาดของเจ้าของธุรกิจนั้น
ก่อนยิงแอดโฆษณาต้องรู้ CPC กับ CPA เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
เมื่อทราบแล้วว่า CPM กับ CPC แตกต่างกันอย่างไร? ลองมาดูกันต่อ CPA (Cost Per Action) อีกหนึ่งคำที่นักการตลาดออนไลน์ต้องพบเมื่อคิดยิงแอดโฆษณา ว่ามีความเหมือนหรือต่างจาก CPC (Cost Per Click) กันอย่างไร? ADME Media ขอบอกว่า CPC กับ CPA เป็นรูปแบบการชำระเงินในการทำโฆษณาออนไลน์ที่มีความแตกต่างกัน
เนื่องจากการทำโฆษณาแบบ CPC จะมีการคิดเงินสำหรับค่าโฆษณา โดยคำนวณจากจำนวนครั้งที่มีการคลิกโฆษณา ซึ่งต่างจาก CPA (Cost Per Acquisition) ที่มีคิดค่าโฆษณาเมื่อมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นตามที่ผู้ลงโฆษณากำหนด เช่น ลงทะเบียน สมัครสมาชิก สั่งซื้อ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรือมีการกดติดตาม เป็นต้น ทำให้การทำโฆษณาแบบ CPA เป็นวิธีสร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ที่หลายธุรกิจเลือกใช้ในปัจจุบัน เพราะเราสามารถควบคุมงบประมาณและวัดผลลัพธ์ของแต่ละแคมเปญได้
สรุปเหตุผล Cost Per Click มีความสำคัญต่อธุรกิจออนไลน์อย่างไร
CPC หรือ Cost Per Click คือมาตรวัดสำคัญต่อการทำแคมเปญโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพราะ Cost Per Click ช่วยให้คุณสามารถคำนวณและบริหารงบประมาณสำหรับแคมเปญโฆษณาได้ดียิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ยังกังวลว่าการใช้มาตรวัด CPC บนแพลตฟอร์มอย่าง Google Ads และ Facebook Ads จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าจริงหรือไม่ วันนี้ ADME จะพาไปดูความสำคัญของ Cost Per Click ที่มีต่อธุรกิจออนไลน์กัน
กำหนดงบประมาณได้ง่าย
เพราะ Cost Per Click ช่วยให้ผู้ลงโฆษณาสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายต่อคลิกและงบประมาณรายวันได้ ฉะนั้นการศึกษาเรื่อง CPC ก่อนสร้างแคมเปญโฆษณาจะช่วยให้เราควบคุมหรือปรับเปลี่ยนงบประมาณตามประสิทธิภาพของโฆษณาได้ง่ายขึ้น
มีการวัดผลที่ชัดเจน
เนื่องจาก CPC ใช้วิธีคำนวณค่าใช้จ่ายผ่านจำนวนที่มีการคลิกโฆษณา ทำให้เรารู้ว่าแคมเปญโฆษณาที่สร้างขึ้นมีความน่าสนใจและดึงดูดผู้ชมมากน้อยเพียงใด ทั้งยังสามารถนำข้อมูลการคลิกมาใช้ในการวิเคราะห์และปรับปรุงโฆษณาให้ดีขึ้นได้
เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์
Cost Per Click คือการกระตุ้นให้คนคลิกที่โฆษณาและเข้ามายังเว็บไซต์ธุรกิจมากขึ้น ยิ่งถ้าใช้ Keyword หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม โอกาสเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์และการขายสินค้าก็จะเพิ่มขึ้นตามมา
การเจาะกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำโฆษณาด้วย CPC เราสามารถเลือก Keyword หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มที่จะสนใจในสินค้าหรือบริการของธุรกิจ
ความคุ้มค่า
เนื่องจากจ่ายเงินเกิดขึ้นเมื่อมีการคลิกโฆษณา การใช้ CPC จึงช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากขึ้น
นักการตลาดออนไลน์ควรรู้ CPC นิยมใช้บนแพลตฟอร์มประเภทไหนบ้าง?
ปัจจุบันการยิงแอดโฆษณาแบบ CPC ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะช่วยให้ผู้ลงโฆษณาสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างละเอียดและควบคุมค่าใช้จ่ายในการโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงไม่แปลกที่หลายแพลตฟอร์มเปิดให้ผู้ประกอบการเข้ามายิงแอดด้วยวิธีนี้ ไม่ว่าจะเป็น
- Google Ads เป็นการโฆษณาบนเครือข่ายการค้นหา (Search Network) เมื่อผู้ใช้ค้นหาคำสำคัญที่เกี่ยวข้อง โฆษณาจะไปปรากฏที่ด้านบนและด้านล่างของหน้าผลการค้นหา
- Facebook Ads สำหรับโฆษณา CPC Facebook คืออีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีตำแหน่งให้ทำ CPC ทั้งบนฟีดข่าว สตอรี และหน้าโปรไฟล์ของผู้ใช้ Facebook
หรือ Instagram - LinkedIn Ads ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เน้นด้านธุรกิจ ก็มีตำแหน่งให้ผู้ลงโฆษณาเลือกทำ CPC เช่น ลงโฆษณาบนฟีดข่าว LinkedIn ด้านบนและด้านข้างของ
หน้า LinkedIn เป็นต้น - Twitter Ads หรือ X เป็นอีกแพลตฟอร์มที่นิยมทำโฆษณาแบบ CPC โดยตำแหน่งที่โฆษณาจะไปปรากฏ มีทั้งบนฟีดข่าวของผู้ใช้ หน้าผลการค้นหา หน้าเทรนด์ และคำแนะนำ
ผู้ติดตาม เป็นต้น - YouTube Ads เป็นโฆษณาที่แสดงก่อนเริ่มหรือระหว่างการดูวิดีโอใน YouTube นอกจากนี้การโฆษณาแบบ CPC ยังอาจมาในรูปของแบนเนอร์ก็ได้เช่นกัน
- LINE Ads เป็นแพลตฟอร์มโฆษณาที่มีตำแหน่งให้เลือกโปรโมตธุรกิจและสินค้าหลายจุด อย่างหน้าแรกของ LINE Official Account ฟีดข่าว LINE หรือหน้าผลการค้นหา
สินค้านั่นเอง - Amazon Ads โฆษณาแบบ CPC บน Amazon จะมีตำแหน่งการแสดงผลที่แตกต่างกัน เช่น แสดงผลบนหน้าการค้นหา หน้าแสดงรายละเอียดสินค้า หรือบนเว็บไซต์
พันธมิตร เป็นต้น
เช็กลิสต์ ข้อดี ข้อเสียของ CPC ตามแพลตฟอร์มที่เลือกมีอะไรบ้าง
แม้ Cost Per Click คือมาตรวัดผลในการทำโฆษณาที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมและสร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้ในหลาย ๆ แต่การยิงแอดโฆษณาก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละแพลตฟอร์มที่ใช้ โดย ADME จะพาไปดูภาพรวมของเรื่องนี้กัน
ข้อดีของการทำ CPC
- ชำระตามประสิทธิภาพการโฆษณา เพราะผู้ลงโฆษณา CPC จะจ่ายเงินเฉพาะเมื่อมีคนคลิกโฆษณาของเรา หมายความว่าเราจะได้รับผลตอบแทนตรงตามจำนวนคลิกที่ได้รับ
- สร้างผลลัพธ์ที่คุ้มค่า เนื่องจากการใช้ CPC ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้และสร้างการรับรู้แบรนด์ได้ ทำให้เกิดผลตอบรับที่ดีต่อการขายหรือการเปิดตัวสินค้าใหม่
- เป็นตัวชี้วัดผลที่ดี เพราะผลการโฆษณา CPC จะถูกบันทึกเป็นจำนวนคลิกที่ได้รับ ทำให้สามารถนำข้อมูลไปปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การโฆษณาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของการทำ CPC
- ต้นทุนโฆษณา เพราะการทำ CPC จะเสียเงินเมื่อมีคนคลิกโฆษณา แต่ถ้าไม่จับตาดูให้ดีต้นทุนอาจพุ่งสูงจนขาดทุน เพราะจำนวนคลิกไม่ได้รับการันตีผลลัพธ์ของโฆษณา
- การแข่งขัน บนแพลตฟอร์มที่มีการใช้ CPC มักจะมีการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้ลงโฆษณา อาจต้องใช้งบประมาณสูงเพื่อเพิ่มโอกาสแสดงผลโฆษณาของเรา
ต้องรู้วิธีคำนวณ CPC เพื่อจัดสรรงบค่าโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นทุนต่อการคลิกเข้าชมโฆษณาหนึ่งครั้งจากการเห็นโฆษณาบน Facebook, YouTube, LINE, Amazon และ Google สูงจนเกินไป Cost Per Click คือมาตรวัดโฆษณาออนไลน์อีกตัวที่ช่วยจัดการงบประมาณโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีการคำนวณเบื้องต้นดังนี้
สูตรคำนวณ CPC
คำนวณค่าโฆษณาแบบ CPC ด้วยการนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในแคมเปญโฆษณา หารด้วยจำนวนคลิกทั้งหมดที่ได้รับจากโฆษณา
สูตรคือ CPC = Total Cost/Number of Clicks
หมายเหตุ : Total Cost เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการโฆษณา และ Number of Clicks คือจำนวนคลิกทั้งหมดที่ได้รับจากแคมเปญโฆษณา
ตัวอย่าง
นาย M ต้องการยิงแอดโฆษณา CPC บนแพลตฟอร์มออนไลน์ จึงต้องการคำนวณค่าใช้จ่ายในการทำแคมเปญโฆษณาครั้งนี้ โดยนาย M มีงบประมาณโฆษณาทั้งหมด 10,000 บาท หากต้องการคลิกทั้งหมด 1,300 ครั้ง นาย M ต้องเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการคลิกโฆษณาแต่ละครั้งในแคมเปญโฆษณาอยู่ที่เท่าไหร่?
สูตร CPC = 10,000/1,300 = 7.69 บาท/คลิก
เท่ากับว่า นาย M เสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการคลิกโฆษณา CPC ในราคา 7.69 หรือประมาณ 8 บาท/คลิก
ควรทำอย่างไร? ให้ค่า CPC ไม่แพงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เราเลือก
สำหรับธุรกิจที่สนใจยิงแอดโฆษณา CPC บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ ดึงคนเข้าเว็บไซต์ และเพิ่มโอกาสทางการขายสินค้า แต่กังวลว่าค่าโฆษณาจะสูงเกินไป แล้วต้องทำอย่างไร? ให้ค่า CPC ไม่แพง ลองมาดูวิธีการลด CPC กรณีที่ต้นทุนต่อคลิกแพงเกินไปกัน
เพิ่ม Quality Score ในเว็บไซต์
สำหรับการเพิ่ม Quality Score คือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ด้าน Data Analytic ของ Google Ads มาช่วยประเมินคุณภาพโฆษณาของเราว่าเป็นอย่างไร? เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ลงโฆษณารายอื่น ๆ โดยระบบจะมีวิธีคำนวณคะแนนคุณภาพจาก 3 ปัจจัยนี้
- อัตราการคลิกผ่านที่คาดหวัง คือโอกาสที่ผู้ใช้จะคลิกโฆษณาที่แสดงให้เห็น ด้วยการตรวจสอบรายละเอียดโฆษณาให้แน่ใจว่ารายละเอียดโฆษณาตรงกับ Keyword ที่ใช้
หรือไม่ - ความเกี่ยวข้องกับแอดโฆษณา เป็นโฆษณาที่ดึงดูดความสนใจและตรงกับ Search Intent ของกลุ่มเป้าหมาย
- หน้าเว็บไซต์หรือหน้า Landing Page ควรเกี่ยวข้องกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายตามหาและโฆษณา รวมถึงหน้าเว็บไซต์โหลดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูล
ได้เร็วที่สุด
ทำ Keyword Research
เพื่อให้ Keyword ที่เลือกใช้ตรงกับ Search Intent ของผู้ใช้และตอบโจทย์กับสินค้าและบริการของธุรกิจอย่างแท้จริง ควรเริ่มต้นทำ Keyword Research ดังนี้
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อให้การทำ CPC เป็นไปตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- การแบ่งโฆษณาที่ทำออกเป็นกลุ่มตามคำ Keyword ที่ผู้คนค้นหา จะช่วยให้การจัดการและวิเคราะห์ผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ทำการตั้งชื่อกลุ่มและจัดกลุ่ม Keyword ที่ตรงกับสิ่งที่ผู้คนค้นหา นอกจากช่วยปรับปรุงการโฆษณาแล้วยังเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญ CPC อีกด้วย
สร้างโฆษณาด้วยวิธี CPC เองอาจยาก แต่เรามีตัวช่วยดี ๆ มาแนะนำ
การยิงแอดโฆษณา CPC ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องโฟกัสในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงบโฆษณา กำหนด Keyword ค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่ รวมถึงการพิจารณาต้นทุนโฆษณาออนไลน์แต่ละตัว อย่าง CPC, CPM และ CPA ให้เหมาะกับแคมเปญโฆษณาของเรา เพื่อให้การลงลงโฆษณาแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
แต่จะดีกว่าไหม หากให้ ADME บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์และรับทำ SEM มาช่วยทำให้เว็บไซต์ธุรกิจของคุณสามารถแข่งขันกับธุรกิจในแวดวงเดียวกันได้ โดยบริการรับทำ SEM ที่ ADME จะดูแลครอบคลุมทุกขั้นตอนที่สำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการ
- วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค แนวโน้มตลาด และการแข่งขัน เพื่อกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงตาม Keyword ที่เลือกใช้ได้อย่างแม่นยำ
- วางแผนกลยุทธ์การตลาดสำหรับแต่ละแพลตฟอร์ม เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ดำเนินการทำแคมเปญการตลาดและบริหารงบประมาณการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
- รายงานผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาดอย่างละเอียด เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาแคมเปญให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป
จากคำถามที่ว่า CPC คืออะไร? CPC หรือ Cost Per Click คือต้นทุนต่อคลิกเข้าชมโฆษณาหนึ่งครั้งจากการเห็นโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญ เพราะธุรกิจสามารถใช้วัดประสิทธิภาพของ CPC Facebook คือผลลัพธ์ที่ต้องการหรือไม่? หรือใช้ประเมินงบ CPC เท่าไหร่ดี? ถึงเหมาะสมต่อการลงทุนยิงโฆษณา อย่างไรก็ดี หากคุณคิดว่าการทำการตลาดออนไลน์ด้วยตัวเองมีความซับซ้อนและยุ่งยาก ทาง ADME บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์แบบครบวงจร พร้อมให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านการตลาดออนไลน์ เพื่อให้ธุรกิจของคุณก้าวไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ